MENU
借りる เช่า 買う ซื้อ 場所から แผนที่ญี่ปุ่น

JAPAN BOXロゴ

ไทย 日本語 English 中国語(簡体) 한국 ไทย Tiếng Việt Espagnol Français
เช่า ซื้อ ค้นหาจากที่อยู่ เงื่อนไข สาย / สถานี สิ่งที่ต้องทำในการเช่าห้องที่ญี่ปุ่น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้ต้องการลงประกาศ
×
ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับการอยู่อาศัยในญี่ปุ่น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเลือกอสังหาริมทรัพย์

อยากย้ายไปญี่ปุ่น? แต่กังวลว่าบ้านจะสามารถต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้หรือไม่? ให้ลองเลือกอสังหาริมทรัพย์ ที่สร้างหลังปี 1981 【JAPANBOX】

HOME > อยากย้ายไปญี่ปุ่น? แต่กังวลว่าบ้านจะสามารถต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้หรือไม่? ให้ลองเลือกอสังหาริมทรัพย์ ที่สร้างหลังปี 1981 【JAPANBOX】

อยากย้ายไปญี่ปุ่น? แต่กังวลว่าบ้านจะสามารถต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้หรือไม่? ให้ลองเลือกอสังหาริมทรัพย์ ที่สร้างหลังปี 1981 【JAPANBOX】

ประเด็นหลัก:

・การเปลี่ยนแปลงกฎหมายของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

・จะเกิดอะไรขึ้นกับอาคารเมื่อตัวอาคารมีอายุมากขึ้น

ジャパンボックス| resistant to earthquakes | JAPANBOX

มีสองปัจจัยสำคัญที่คุณควรพิจารณาเมื่อมองหาบ้านที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ได้แก่ อายุของอาคาร และวิธีการก่อสร้างอาคาร บทความนี้จะสรุปว่าทำไมสองสิ่งนี้จึงมีความสำคัญมากในการเลือกที่อยู่อาศัย

อายุของอาคาร

ジャパンボックス| 基礎工事 | JAPANBOX

การต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวจะแตกต่างกันไปตามอายุของอาคารด้วยเหตุผลสองประการคือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายการก่อสร้างและการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตรฐานอาคาร

ในปี ค.ศ. 1981 มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานอาคารหรือที่เรียกว่าข้อบังคับใหม่ว่าด้วยแผ่นดินไหว  ตามข้อมูลการป้องกันภัยพิบัติของสำนักงานคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับใหม่นี้จะเข้มงวดกว่าเดิม โดยข้อบังคับใหม่นี้ถูกออกแบบภายใต้การคาดการณ์ที่ว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหม่ จะมีความรุนแรงกว่าครั้งก่อนๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานการก่อสร้างอาคารที่เข้มงวดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรมองหาอาคารที่สามารถต้านทานต่อแผ่นดินไหวได้โดยมองหาอาคารที่สร้างขึ้นหลังปี .. 1981

ข้อบังคับใหม่นี้สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการถล่มและความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ที่ระดับความสั่นสะเทือนชินโดะ 6 ถึง 7) เป็นที่เข้าใจกันว่าแผ่นดินไหวที่มีระดับความสั่นสะเทือนไม่เกิน 5 จะสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การใช้ข้อบังคับใหม่พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถรับมือกับแผ่นดินไหวได้ดีกว่าเห็นได้ภายหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชินอาวาจิในปี 1995 หลังจากภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้ พบว่าอาคารที่ได้มาตรฐานการต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวใหม่หลังปี 1981 ได้รับความเสียหายน้อยกว่า

การเสื่อมสภาพตามอายุ

อายุของอาคารมีความสำคัญสำหรับการพิจารณาเพราะการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับการก่อสร้างหลังปี 1981 และเนื่องจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของโครงสร้างอาคาร

อายุการใช้งานของอาคาร

ジャパンボックス| Building Lifespan | JAPANBOX

ยิ่งอาคารมีอายุนานก็ยิ่งทรุดโทรม ความเร็วของการทรุดโทรมขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ใช้สร้าง จากการศึกษาล่าสุดโดยศาสตราจารย์โคมัตสึ แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ เรื่องการประเมินช่วงอายุเฉลี่ยของอาคาร” (บทความภาษาญี่ปุ่น) อายุเฉลี่ยของบ้านไม้ คือ 64 ปี นอกจากนี้กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง ก็ได้ทำการศึกษาเรื่อง  “การศึกษากลุ่มการส่งเสริมและการใช้ที่อยู่อาศัยที่ใช้แล้วระบุว่าคอนกรีตเสริมเหล็กมีอายุเฉลี่ยที่ 68 ปี ส่วนอาคารที่ใกล้จะหมดอายุจะอ่อนแอกว่าอาคารใหม่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว

การซ่อมแซมและบำรุงรักษา

นอกจากอายุแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าอาคารเคยมีการซ่อมแซมและบำรุงรักษาครั้งใหญ่เพื่อซ่อมแซมและป้องกันความเสียหายของอาคารมาก่อนหรือไม่ อาคารที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีอาจเสี่ยงต่อความเสียหายจากแผ่นดินไหวไม่ว่าตัวอาคารจะมีอายุเท่าใด ด้วยเหตุนี้ จึงขอแนะนำให้คุณสอบถามเกี่ยวกับประวัติการซ่อมแซมขนาดใหญ่และการบำรุงรักษาทั่วไปของอาคารก่อนเซ็นสัญญา ซึ่งจะช่วยให้คุณทราบสภาพของอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างแม่นยำ

โครงสร้างอาคาร

ジャパンボックス| 建物の構造 | JAPANBOX

การสร้างอาคาร (ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือคอนกรีต) มีผลต่ออายุการใช้งานของตัวอาคาร นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารยังช่วยให้ผลกระทบจากแผ่นดินไหวแตกต่างกันไปอีกด้วย ประเทศญี่ปุ่นมีโครงสร้างอยู่ 3 แบบ ได้แก่ แบบทนต่อแรงแผ่นดินไหว แบบกันการสั่นสะเทือน และแบบแยกตัวจากแผ่นดินไหว ซึ่งอธิบายต่อไปดังนี้

ประเภทของโครงสร้าง

แบบทนต่อแรงแผ่นดินไหว

โครงสร้างแบบทนต่อแรงแผ่นดินไหว เสาและคานภายในอาคารได้รับการออกแบบให้แข็งแรงพอที่จะทนต่อแผ่นดินไหวได้ อย่างไรก็ตาม ผู้อยู่อาศัยยังสามารถรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนและการเคลื่อนไหวของเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคารได้อย่างชัดเจน

แบบลดแรงสั่นสะเทือน

ในโครงสร้างนี้มีส่วนประกอบที่เรียกว่าแดมเปอร์จะดูดซับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ปริมาณการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในโครงสร้างนี้สามารถเทียบได้กับอาคารทนต่อแรงแผ่นดินไหวแต่ความเสียหายต่อเสาและคานจะลดลง

แบบแยกตัวจากแผ่นดินไหว

ในโครงสร้างแบบแยกตัวจากแผ่นดินไหว มีการติดตั้งยางลามิเนตระหว่างฐานของอาคารกับพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอาคารได้รับผลกระทบโดยตรงจากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้อาคารเคลื่อนตัวน้อยลง ขอแนะนำให้ใช้โครงสร้างประเภทนี้ เนื่องจากอาคารจะสั่นสะเทือนน้อยกว่าโครงสร้างที่อื่น อย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความปลอดภัยและสบายใจมากขึ้น

บทสรุป

ジャパンボックス| resistant to earthquakes built year | JAPANBOX
เมื่อมองหาอพาร์ทเมนต์ให้เช่า ควรพิจารณาความปลอดภัยส่วนบุคคลของคุณในช่วงภัยพิบัติทางธรรมชาติ อสังหาฯ ที่สร้างก่อนปี 1981 มีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการก่อสร้างและการผุกร่อนตามธรรมชาติ นอกจากนี้ โครงสร้างอาคารส่งผลกระทบอย่างมากต่อการตอบสนองของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โปรดศึกษาคำแนะนำเหล่านี้เมื่อมองหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อหาบ้านที่มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีที่สุด

TOP