MENU
借りる เช่า 買う ซื้อ 場所から แผนที่ญี่ปุ่น

JAPAN BOXロゴ

ไทย 日本語 English 中国語(簡体) 한국 ไทย Tiếng Việt Espagnol Français
เช่า ซื้อ ค้นหาจากที่อยู่ เงื่อนไข สาย / สถานี สิ่งที่ต้องทำในการเช่าห้องที่ญี่ปุ่น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ผู้ต้องการลงประกาศ
×
ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับการอยู่อาศัยในญี่ปุ่น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเลือกอสังหาริมทรัพย์

“เงินมัดจำ” และ “เงินตอบแทน” 
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการเช่าที่อยู่อาศัยในญี่ปุ่น

HOME > “เงินมัดจำ” และ “เงินตอบแทน” 
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการเช่าที่อยู่อาศัยในญี่ปุ่น

“เงินมัดจำ” และ “เงินตอบแทน” 
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการเช่าที่อยู่อาศัยในญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่นเมื่อคุณเช่าห้องจะมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นอกเหนือจากค่าเช่า

ซึ่งรวมถึงค่านายหน้าที่จ่ายให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ (“Chuukai-tesuuryou”) ค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับบริษัทผู้ค้ำประกัน ค่าประกันอัคคีภัย ค่าเปลี่ยนกุญแจ และค่าเช่าล่วงหน้า

ในส่วนนี้เราจะอธิบายถึงเงินมัดจำ (“Shikikin”) และเงินตอบแทน (“Reikin”) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด

เงินมัดจำคืออะไร (“Shikikin”)

money you have to pay in advance for renting a house

เงินมัดจำ (“Shikikin”) คือเงินที่ผู้เช่าห้องฝากไว้กับเจ้าของบ้านล่วงหน้าเมื่อย้ายเข้ามา

ส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าซ่อมแซมห้องเมื่อคุณย้ายออก

หากค่าซ่อมแซมไม่มากเกินไปและเงินมัดจำบางส่วนยังเหลืออยู่ คุณจะได้รับเงินส่วนที่เหลือคืน

ในกรณีที่คุณจ่ายค่าเช่าล่าช้าคุณอาจถูกเรียกเก็บค่าเช่าจากเงินมัดจำ ด้วยวิธีนี้เงินมัดจำสามารถใช้เป็นหลักประกันค่าเช่าประเภทหนึ่งที่ช่วยให้คุณไม่ถูกเชิญออกในทันที

มีความแตกต่างระหว่างคันโตและคันไซ

ในบางพื้นที่ของคันไซและคิวชู เงินมัดจำดังกล่าวจะเรียกว่า “Hoshoukin” แทนที่จะเป็น “Shikikin” และมีความแตกต่างบางประการในระบบที่นั่น

ในระบบ “Hoshoukin” เงินมัดจำส่วนหนึ่งถือเป็นShikibikiซึ่งไม่สามารถคืนเงินได้ ดังนั้นโปรดระวังในส่วนนี้เมื่อคุณลงนามในสัญญา

เงินตอบแทน (Reikin”) คืออะไร?

thank you for renting a house

เงินตอบแทน (Reikin”) คือเงินที่ให้กับเจ้าของบ้านเพื่อแทนคำขอบคุณที่ให้คุณเช่าห้อง

ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในญี่ปุ่น แต่เป็นระบบที่มีลักษณะเฉพาะที่หาได้ยากในที่อื่น ๆ บนโลก

บางคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องขอบคุณเจ้าของบ้านหรือเหตุใดจึงไม่รวมในค่าเช่าไปเลย

ที่มาของเงินตอบแทน

มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของเงินตอบแทน แต่มีการกล่าวกันว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนที่ผู้คนสูญเสียบ้านหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโตในปี พ. . 2466 โดยให้เงินเป็นสัญลักษณ์แทนคำขอบคุณแก่ผู้ที่ให้เช่าบ้าน

นอกจากนี้ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวกันว่าอาจเริ่มขึ้นเมื่อผู้ปกครองของนักเรียนที่เริ่มอยู่อาศัยด้วยตนเองได้ให้เงินแก่เจ้าของบ้านที่ลูก ๆ เช่าเพื่อแทนความรู้สึกที่ว่า ฝากดูแลลูก ๆ ของพวกเขาด้วย

ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เงินตอบแทนก็ถือเป็นสัญลักษณ์แทนคำขอบคุณและไม่เหมือนกับเงินมัดจำ กล่าวคือคุณจะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้คืนเมื่อคุณย้ายออก

ราคาทั่วไปสำหรับเงินมัดจำและเงินตอบแทน

fairest prices for reikin sikikin

คิดเป็นค่าเช่า 1 3 เดือน

ราคาทั่วไปสำหรับทั้งเงินมัดจำและเงินตอบแทนคิดเป็นค่าเช่า 1-2 เดือนในคันโตและ 2-3 เดือนในคันไซ

แต่ช่วงหลังมานี้เงินตอบแทนเริ่มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคคันโตนอกโตเกียวซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจ่ายเงินตอบแทน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายของเงินตอบแทนยังขึ้นอยู่กับภูมิภาคและความนิยมของอสังหาริมทรัพย์ หากอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่นิยมก็มีแนวโน้มที่เงินตอบแทนจะสูงกว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ว่างมาเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ยังมีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจ่ายเงินตอบแทนหรือเงินมัดจำ

ประมาณปี พ.ศ. 2548 เนื่องจากอุปทานที่อยู่อาศัยล้นตลาด ทำให้ “อสังหาริมทรัพย์เป็นศูนย์(zero-zero-bukken”) ที่ไม่มีเงินตอบแทนและไม่มีเงินมัดจำเริ่มเพิ่มขึ้น

เดิมทีการย้ายบ้านต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่ในทุก ๆ ปีภาระค่าใช้จ่ายเริ่มต้นรวมถึงเงินตอบแทนและเงินมัดจำจะลดลงเรื่อยๆ

เงินมัดจำของคุณหลังจากย้ายออก

repair cost that you have to pay

ฉันจะได้รับเงินประกันคืนมากที่สุดได้อย่างไร?

แม้ว่าคุณจะได้รับเงินมัดจำคืนเมื่อคุณย้ายออก แต่จำนวนเงินที่คุณได้รับคืนนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ภาระหน้าที่ในการคืนห้องให้อยู่ในสภาพเดิม” (genjou kaifuku”) ซึ่งหมายความว่าคุณมีหน้าที่รับผิดชอบในการซ่อมแซมและคืนมูลค่าห้องที่ลดลงเนื่องจากการใช้งานให้กลับมาดังเดิม

หากคุณกังวลว่าอาจถูกเรียกเก็บเงินค่าซ่อมแซมที่ไม่ได้อยู่ในส่วนรับผิดชอบของคุณ สิ่งสำคัญที่ควรทำคือการทบทวนขอบเขตการซ่อมแซมที่ครอบคลุมอยู่ใน genjou kaifuku

การสึกหรอตามปกติและการเสื่อมสภาพตามอายุ

รอยขีดข่วนและรอยที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันถือเป็นการสึกหรอตามปกติ
ซึ่งรวมถึงรอยบุบที่พื้นที่เกิดจากการตั้งเฟอร์นิเจอร์ รอยดำบนผนังด้านหลังตู้เย็นและรอยที่เกิดจากการเจาะตะปู

การเสื่อมสภาพตามอายุคือการเสื่อมของคุณภาพที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ผนังถูกแดดเผาหรือปะเก็นที่เก่าเป็นตัวอย่างของการเสื่อมสภาพดังกล่าว การซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอตามปกติและการเสื่อมสภาพตามอายุอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าของบ้าน

การเสื่อมสภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้เช่า

รอยขีดข่วนและคราบสกปรกที่เกิดจากการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทของผู้เช่าเรียกว่า “การสึกหรอแบบพิเศษซึ่งรวมถึงผนังที่เปลี่ยนสีจากควันบุหรี่ รูบนกำแพงจากการชนสิ่งของและรอยที่เด็ก ๆ เขียนบนผนัง

คราบเชื้อราในห้องน้ำและคราบสกปรกในห้องครัวถือเป็นการสึกหรอแบบพิเศษที่เกิดจากการไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแบบพิเศษจะครอบคลุมอยู่ในเงินมัดจำ

หากห้องสกปรกหรือเสียหายเกินไปจนเงินมัดจำอาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม คุณอาจถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมเพื่อจ่ายในส่วนที่ไม่พอในเงินมัดจำ

ดังนั้นเพื่อให้ได้รับเงินมัดจำคืนมากที่สุดคุณควรดูแลสถานที่และให้ความสำคัญกับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณที่จะส่งผลต่อสภาพของห้อง ตัวอย่างเช่น การไม่สูบบุหรี่ในบ้านหรือไม่ลากเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

การดูแลห้องอย่างดีจะช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเมื่อคุณย้ายออก

TOP